หินขัด ทรายล้าง ใช้งานแบบไหน ต่างกันอย่างไร เลือกแบบไหนให้เหมาะกับเรา
หินขัด? ทรายล้าง? 2 อย่างนี้ต่างกันยังไงนะ เป็นคำถามที่ใครหลายคนที่กำลังตัดสินใจที่จะทำงานพื้นกำลังสงสัยกับว่า ทั้ง 2 ตัวนี้ต่างกันอย่างไร ข้อดี และข้อเสีย เป็นแบบไหน และแบบไหนที่จะเหมาะกับเรามากกว่ากัน
ก่อนอื่นเราต้องมาทำความรู้จักก่อนว่าที่มา และประเภทของหิน ทั้ง 2 ตัว เป็นอย่างไร
ทรายล้าง เป็นทรายกรวดทะเล ลักษณะเป็นเกล็ดละเอียด ผิวสัมผัสค่อนข้างหยาบ และมีสี และขนาดให้เลือกค่อนข้างน้อย
หินขัด เป็นหินที่มาจากภูเขา ลักษณะคล้ายหินอ่อน ผิวสัมผัสจะค่อนข้างเรียบเนียบ และมีสี และขนาดให้เลือกได้หลากหลาย
แล้วทั้ง 2 ตัว ใช้ทำงานพื้นแบบไหนล่ะ
พื้นทรายล้าง จะนิยมใช้กับปูนเขียว หรือปูนขาว ผสมพร้อมสีฝุ่น(สีผสมปูน) เทลงบนพื้นคอนกรีตที่เตรียมไว้ ทิ้ง 1 วัน และขัดหน้าปูนออกด้วยกรดเกลือ ก็จะได้พื้นทรายล้างที่มีความหยาบและกันลื่นได้ดี
พื้นหินขัด จะนิยมใช้กับปูนขาว ผสมสีฝุ่น(สีผสมปูน) เทลงบนพื้นคอนกรีตที่เตรียมไว้ ทิ้งไว้ 5 วัน และทุกๆวันควรมีการโรยน้ำให้มีความชื้น เมื่อครบ 5 วันก็จะเริ่มขัดครั้งที่ 1 และทิ้งไว้ 5 วัน เมื่อครบกำหนดก้จะขัดครั้งที่ 2 (ทั้ง 2 ครั้งจะขัดโดนเครื่องขัด)และลงน้ำยาเคลือบเพื่อรักษาพื้นผิว ก็จะได้พื้นหินขัดที่เรียบเนียน และดูแลรักษางาน
แต่ตัวหินของงานพื้นทรายล้าง จะสามารถใช้ได้ทั้ง ทรายล้าง และหินขัด
ข้อดี – ข้อเสีย ของพื้นทั้ง 2 แบบล่ะมีอะไรบ้างนะ
พื้นทรายล้าง
ข้อดี
- พื้นมีความหยาบ กันลื่นได้ดี
- สามารถทำเองได้ อุปกรณ์ไม่เยอะ
- ราคาย่อมเยาว์ เข้าถึงง่าย
ข้อเสีย
- พื้นมีร่องเยอะ จึงทำให้ทำควาทสะอาดยาก
- จะต้องกะปริมาณให้พอดี เพื่อให้สีสม่ำเสมอ
พื้นหินขัด
ข้อดี
- พื้นผิวเรียบ ทำความสะอาดง่าย
- สามารถเลือกลวดลาย และสีสันได้หลากหลาย
ข้อเสีย
- ไม่สามารถทำได้เอง เนื่องจากจะต้องมีอุปกรณ์เฉพาะทาง และความชำนาญ
- พื้นอาจมีความลื่น กว่าพื้นทรายล้าง เนื่องจากความเรียบ
จากข้อดี-ข้อเสียของทั้ง 2 แบบแล้ว จะเป็นได้ว่า พื้นทรายล้าง นั้นเหมาะกลุ่มที่ต้องการพื้นที่มีความหยาบ และกันลื่น เช่น ลานจอดรถ ขอบสระว่ายน้ำ ทางลาด หรือพื้นบริเวณที่มีผู้สูงอายุเดินเป็นประจำ ส่วน พื้นหินขัด นั้นก็จะเหมาะกับกลุ่มที่ต้องการพื้นที่มีสีให้เลือกหลากหลาย พื้นผิวที่เรียบ ทำความสะอาดง่าย และไม่กังวลกันพื้นที่ต้องกันลื่นได้ดี เช่น ลาดกว้างหน้าบ้าน พื้นอาคาร หรือโต๊ะอาหารหินอ่อน เป็นต้น จากที่กล่าวมาทั้งหมดเราก็พอจะรู้แล้วว่า พื้นที่เราต้องการนั้นคือพื้นแบบไหน และอะไรที่เหมาะกับเรา